วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559
บันทึกประจำวัน วันที่ 17 มีนาคม 2559,
บันทึกประจำวัน วันที่ 17 มีนาคม 2559
วันนี้ ได้เข้าร่วมอบรมโครงการสารเทศครบวงจร ( การรายงาน ) การร้องขอข้อมูล โครงการ การรายงาน เว็ปไชต์ ไตรมาส โดยจะเรียนรู้เกี่ยวกับรูปภาพ รายละเอียดของตัวกิจกรรม ปัญหาของหัวใจระบบทั้งหมด คือ ข้อมูล ตัวเลข ไม่ตรงกัน ข้อมูลช้ำช้อน โครงการหลักหากผ่านงาน ผ่านงานต้องมีการตรวจสอบ โครงการย่อยของตำบลจะแสดงขึ้นระบบทันที่ โดยจะมีบันทึกข้อความ โครงการที่กิจกรรมสังกัด จำนวนเงิน งบประมาณ การใช้เงิน กลุ่มเป้าหมาย ผลเท่าไร โดยจะสามารถเข้าผ่าน ระบบ โดย คลิก http://goo.gl/forms/x5zJRPNkSa
การรายงานข้อมูล (บันทึกข้อความ)
1. เรื่อง การบันทึกข้อความ การขออนุญาตรายงาน
2. เลือก วันที่รายงาน
3. ข้าพเจ้า นางสาว...........ขอรายงาน
4. คำลงท้าย
การรายงานตามนโยบายของรัฐและเว็บไซด์ทั้งหมด 8 ข้อ พันธกิจ กิจกรรมข้อไหน ตรงอะไร หยิบใส่ได้เลย
หากไม่เข้าเลย ให้เลือกยัง ไม่เลือกพันธกิจ ระบุสถานที่จัดกิจกรรม จัดที่ไหน (สามารถตามไปดูได้)
การเอารูปเข้าไปในระบบ ใช้ 3 รูป โดย ให้คลุมดำที่ภาพ เลือก Resize เปิดระบบ และเลือกกิจกรรมที่รายงาน คลิกภาพที่ Resize ตกลง
ส่วนที่ 2 การรายงานไตรมาส ให้ตำบลรายงานเอง กรอกเอง กดเข้าเพิ่มระบบ (ปรับปรุงเข้าระบบ)
ส่วนตัวโครงการหลัก โปรแกรมบริหารสำหรับครู (คลิกเข้าไปกิจกรรมทั้งหมดที่เราสังกัดจะขึ้นระบบทันที เลือกให้ตรงกิจกรรม กดส่ง (จะมีชื่อ โครงการ เป็นตัวสีขาว หากไม่มีโครงการ จะเป็นสีแดง ต่อจากนั้นได้ รับชมการถ่ายทอดรายการสายใย กศน. เรื่อง แนวทางการดำเนินการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับกาศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
โดยท่าน สุรพรษ์ จำจด เลขาธิการ กศน. เป็นผู้เปิดประเด็นการเรียนรู้ โดย อ. สุทธิณี งามเขตต์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาหลักสูตร บรรยาย พร้อมทั้ง ผอ.นรา เหล่าไชยา ผอ.กศน.จังหวัดพิษณุโลก ผอ.บุญส่ง ทองเชื่อม ผอ.กศน.อ.เมือง จังหวัดขอนแก่น
ครูโยธิน พรหมมณี หัวหน้า ครูกศน.ตำบลท่าประดู่ อ.นาทวี จ.สงขลา
1) ทำไมจึงต้องปรับการเรียนการสอน กศ.ขั้นพื้นฐาน
- จากการจัดการศึกษาที่ผ่าน ๆ มา เราไม่ได้จัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ทำให้ประชาชนย้ายถิ่น จากชุมชนชนบทไปชุมชนเมือง ทำให้ชุมชนไม่เข้มแข็ง
- หลักสูตร กศน. 51 มีวิชาเลือกมากเกินไป เป็นปัญหาในการจัดการ
.2) ปรับอย่างไร
- วิชาบังคับจะปรับนิดหน่อย โดยจะวิเคราะห์ว่าเนื้อหาใดที่ “ต้องรู้” แล้วจะแจ้งให้ครูนำไปทำความเข้าใจกับนักศึกษา และในการออกข้อสอบปลายภาคก็จะสอบเฉพาะในเนื้อหาที่ต้องรู้นี้เท่านั้น ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อสอบ N-NET ด้วย เพราะจะใช้ผังข้อสอบ ( Test blueprint ) และ คุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบ ( Item specification ) เดียวกัน
- วิชาเลือก ปรับโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เลือกเสรี กับ เลือกบังคับ(ประถม 4 นก., ม.ต้น-ปลาย 6 นก.) วิชาเลือกบังคับ คือ
วิชาพลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
วิชาการบริหารการเงินหรือเศรษฐศาสตร์ชุมชน
วิชาเลือกเสรี ให้เลือกเป็นโปรแกรมเรียน โดยใช้ชุมชนและผู้เรียนเป็นฐานในการกำหนดโปรแกรมเรียนวิชาเลือกเสรี ( สอดคล้องกับแผนจุลภาค ) เช่น ใช้อาชีพของผู้เรียนเป็นวิชาเลือก ( โปรแกรมการเลี้ยงปลา โปรแกรมการเลี้ยงกบ โปรแกรมขับรถบรรทุก โปรแกรมเสริมสวย โปรแกรมนำเที่ยวท้องถิ่น ) ใน 1 โปรแกรมอาจมี 2 วิชา หรือกี่วิชาก็ได้ที่เกี่ยวข้อง โดยนำอาชีพมาเทียบโอนได้ส่วนหนึ่ง และเรียนเพิ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ
ซึ่งสถานศึกษาต้องปรับหลักสูตรสถานศึกษา และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสถานศึกษา
การวัดผลประเมินผลวิชาเลือกเสรี รวมทั้งสัดส่วนคะแนนระหว่างภาคกับปลายภาคของวิชาเลือกเสรี ให้สถานศึกษากำหนดเอง โดยปรับระเบียบการวัดผลประเมินผลของสถานศึกษา ( อาจวัดผลจากภาคปฏิบัติ ถ้าจะสอบข้อเขียน เน้นให้สอบแบบอัตนัย ข้อเดียวก็ได้ )
โปรแกรมเรียนวิชาชีพเดียวกัน ต้องมีความแตกต่างกันในระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย
สื่อแบบเรียนวิชาเลือกเสรีที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้น ให้จังหวัดเป็นผู้ตรวจ
การขอออกรหัสวิชาเลือกเสรี ให้ผ่านการพิจารณาของ สนง.กศน.จังหวัด
.
3) ทำเมื่อไร
ให้เริ่ม ภาคเรียนที่ 1/59 รับลงทะเบียนตั้งแต่ เม.ย.59 แต่ ภาคเรียนที่ 1/59 ยังพัฒนาโปรแกรมเรียนวิชาเลือกเสรีไม่เสร็จ ให้เรียนเฉพาะวิชาบังคับกับวิชาเลือกบังคับก่อน
( นศ.เก่า สามารถจะเข้าสู่โปรแกรมเรียนใหม่ได้เลย )
นัดหมายการอบรมครั้งต่อไปวันที่ 28 มีนาคม 59
การรีไชด์ภาพ ผอ. แจ้งหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมขอให้รายงานผลทันที รายงานที่ผ่านเว็บให้เขียนใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร ก่อนจะเอาขึ้นให้อ่านและเขียนข้อความก่อนเอาขึ้น การรายงานถ้าเป็นรูปเล่มมีแนบไฟล์ไหม่ ทำตรงวัตถุประสงค์ กระบวนการเป็นอย่างไร เข้าแนวเศรษฐกิจ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข อย่างไร ด้วยทุกๆๆครั้ง
การทำงานของห้องสมุด ทุกครั้งที่มีการอบรมให้สรุปด้วย ทุกกิจกรรมให้มีการรายงานด้วย ต่อจากนั้น อ.กฤษณะ เจริยอรุณวัฒนา ได้อธิบายถึงจุดสำคัญของรายงาน คือความการรายงาน เพราะเป็นการบรรยายการจัดกิจกรรม ประมาณ 2 หน้า ก่อนที่จะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมโดย แสดงความคิดที่ได้จากการอบรมวันนี้ นำเสนอแสดงข้อคิดเห็น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น