วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกประจำวัน ถึงวันที่ 24 มีนาคม 2559

บันทึกประจำวัน ถึงวันที่  24  มีนาคม  2559

            เข้ากศน.อำเภอเมืองลำปาง เพื่อเข้ารับการอบรมระบบข้อมูลสารสนเทศ เวลา 08.00 น ประธานพิธีการเปิดการอบรม โดย ดร. ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ ท่านผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองลำปาง เป็นผู้เปิดการประชุม โดยมีวิทยากรบรรยายให้ความรู้ อาจารย์กฤษณะ เจริญอรุณวัฒนา โดยมีข้าราชการ บุคลากร เจ้าหน้าที่ และคณะครูเข้าร่วมการอบรม สรุปผลการเข้าร่วมอบรมได้ดังนี้

รายงานผลการดำเนินงาน แต่ละไตรมาส ให้รายงานไตรมาส 1 และ 3 ได้แก่งานพื้นฐาน
- งานอัธยาศัยกรอกทุกไตรมส การคร่อมไตรมาส จะนับวันสุดท้ายของการจัดกิจกรรม การทำฐานข้อมูลไม่คีย์ไตรมาสเนื่องจากนับเป็นแห่ง การคร่อมไตรมาส จะนับวันสุดท้ายของการจัดกิจกรรม การทำฐานข้อมูลไม่คีย์ไตรมาสเนื่องจากนับเป็นแห่ง
- ระบบของการทำหนังสือเวียน น่าจะพร้อมในอาทิตย์หน้า จากเดิมเซ็นด้านหลังเอกสาร ตอนนี้ให้ทำเป็นระบบ.ให้รับทราบผ่านตัวโปรแกรม เช่น กศน.สบตุ๋ย จะมีเอกสารแถบสีแดงขึ้นก่อนเข้าสู่ระบบให้คลิกรับทราบ ตัวอย่างการนำเสนอผลการดำเนินงานของ ตำบลนิคมพัฒนา ผลของผู้เรียนเป็นอย่างไรในแต่ละคน ให้ออกมาเป็นรูปเล่มด้วย อันนี้ไม่ใช่สรุปผลการดำเนินงาน สรุปผลคือ ผู้เรียนได้เรียนอะไร(ดูตามแผน) ผู้เรียนเป็นไงบ้าง มีความก้าวหน้ามากน้อยแต่น้อย เพจ ทำอะไร ทำกี่เรื่อง มีผู้เข้าชมกี่คน บล็อคได้ทำกี่บล็อค กี่เรื่องมีผู้เข้าชม กี่คน เกี่ยวกับเรื่องอะไร มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างไร ต้องมีการรายทุกกิจกรรมทุกๆกิจกรรม และสมบูรณ์แบบ ถ้ากิจกรรมทำไปแล้วต้องมีเป็นรูปเล่ม
- เวลา 10.00 น ได้รับชมรายการถ่ายทอดสด สายใย กศน. ผ่านการ ทาง ETV
เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วม ทวิศึกษา  วิทยากรในการให้ความรู้  ท่านอาจารย์ สุทธนี งามเขต  วัลภา อยู่ทอง  สรุปใจความดังนี้
          - การอบรมครั้งนี้เป็นติใหม่ของกศน.โดยใช้สื่อของกศน.ที่มีอยู่แล้ว มีการทดสอบก่อนอบรม และหลังอบรม ครูและผู้บริหารสามารถดูเทปย้อนหลังและศึกษาจากเอกสารได้ พัฒนาดาวโหลด  การใช้สื่อทางไกล หลักสูตรการจัดการศึกษาของกศน.และปวช ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ได้สองวุฒิในสามปี ต่อไปก็เป็นกระบวนการการศึกษา
ปัญหาของการเรียนร่วม   คือระยะเวลาไม่ลงตัว เพราะเด็กต้องมีเวลาเรียน มีการฝึกงาน ทำให้การจัดการศึกษาต้องใช้เวลาเรียนมากขึ้น ในการจัดแผนการเรียนนำไปสู่ผลการเทียบโอน  อ.วัลภา อยู่ทอง  ได้อธิบายถึงการจัดแผนการเรียนรู้  ปัญหาที่บพคือ ใบรบในแต่ละภาคเรียนเกินกว่า 24 ชั่วโมง ต่อวันที่ต้องเรียน ต้องให้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง อาชีวคาบละ 60 นาที หน่วยกิต  40  ชั่วโมง เท่ากับ  1 หน่วยกิต มีทฤษฏีและปฏิบัติ การคิดค่าหน่วยกิต  1 ชั่วโมงต่อ 1 หน่วยกิต  ปฏิบัติกิจกรรม 2 สัปดาห์ 54 ชั่วโมงต่อ 1 หน่วยกิต  ในหลักสูตรอาชีวจะกำหนดเป็นทำทฤษฏี  
กรอบโครงสร้างหลักสูตรปวช. 2556  ดังนี้
หมวดวิชาทักษะชีวิต ไม่น้อยกว่า  22 หน่วยกิต โดยกศน.
1.หมวดวิชาทักษะวิชาชีพไม่น้อยกว่า 71 หน่วยกิต โดย สอศ.
1.1กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า (18) โดย กศน.
1.2กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ (24)
1.3กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก ไม่น้อยกว่า (21)
1.4ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ (4)
1.5โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ (4)
2.หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต โดย กศน.
3.กิจกรรมเสริมหลักสูตร  (2 ชม./สัปดาห์) หน่วยกิต โดย กศน.
รวมระหว่าง103-120 หน่วยกิต
หมวดวิชาทักษะชีวิต ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
ให้เรียนรายวิชาลำดับแรกของทุกกลุ่มวิชาหรือตามที่กลุ่มวิชากำหนดและเลือกเรียนรายวิชาส่วนที่เหลือตามที่กำหนดในแต่ละกลุ่มวิชาให้สอดคล้องหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เรียนอีก รวมไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
เรียนหลักสูตร ม.ปลาย 2551 สพฐ. (รายวิชาพื้นฐาน) 41 หน่วยกิต./ กศน. (รายวิชาบังคับ) 44 นก. เทียบโอนฯ สู่ ปวช.2556

1 กลุ่มวิชาภาษาไทยไม่น้อยกว่า 3 นก.
1.2กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศไม่น้อยกว่า 6 นก.
1.3กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 4 นก.
1.4กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 4 นก.
1.5กลุ่มวิชาสังคมศึกษาไม่น้อยกว่า 3 นก.
1.6กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาไม่น้อยกว่า 2 นก. สามารถพัฒนาเพิ่มเติมในลักษณะจาแนกเป็นรายวิชาหรือบูรณาการ
2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 71 นก.
2.1 กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน 18นก.
2.2 กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ24นก.
2.3 กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือกไม่น้อยกว่า 21 นก.
2.4ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ4นก
2.5โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ4นก.
สอนโดย สถานศึกษาอาชีวศึกษา เทียบโอนเข้าสู่หลักสูตร สพฐ. (วิชาเพิ่มเติม) 40 นก.
หลักสูตร กศน. (วิชาเลือก) 32 นก.

การสำเร็จการศึกษา

- ประเมินผ่านรายวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต หมวดวิชาชีพ และหมวดวิชาเลือกเสรี ตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
- ได้จำนวนหน่วยกิตสะสมครบตามโครงสร้างของหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
- ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า 2.00 และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
- เข้าร่วมกิจกรรมและประเมินผ่านทุกภาคเรียน

การประกันคุณภาพหลักสูตร

-ให้สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานศึกษาจัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก 5ปี
1)คุณภาพของผู้สาเร็จการศึกษา
2)การบริหารหลักสูตร
3)ทรัพยากรการเรียนการสอน
4)ความต้องการของตลาดแรงงาน

โครงสร้างหลักสูตรกาหนด
-จัดรายวิชาในแต่ละหมวดวิชาให้ครบตามโครงสร้าง
-จัดวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิตกระจายทุกภาคเรียน
-จัดวิชาชีพพื้นฐานในภาคเรียน 1-2ยกเว้นรายวิชาส่งเสริม/สนับสนุนงานอาชีพ
-จัดวิชาชีพสาขาวิชา/วิชาชีพเฉพาะในภาคเรียน 2-3เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาชีพสาขางาน/วิชาชีพเลือก

แนวทางการจัดแผนการเรียน
จัดรายวิชาตามลาดับง่าย-ยาก เป็นไปตามเงื่อนไขโครงสร้างหลักสูตรกาหนด
-รายวิชาในแต่ละหมวดวิชาให้ครบตามโครงสร้าง
-จัดวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิตกระจายทุกภาคเรียน
-จัดวิชาชีพพื้นฐานในภาคเรียน 1-2ยกเว้นรายวิชาส่งเสริม/สนับสนุนงานอาชีพ
-จัดวิชาชีพสาขาวิชา/วิชาชีพเฉพาะในภาคเรียน 2-3เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาชีพสาขางาน/วิชาชีพเลือก
- จัดวิชาชีพสาขางาน/วิชาชีพเลือกในภาคเรียนที่ 2 เป็นต้นไป
- จัดวิชาโครงการในภาคเรียน 5 หรือ 6
- จัดวิชาฝึกงานและรายวิชาชีพ ไปเรียนและฝึกในสถาน-ประกอบการภาคเรียนที่ 5-6
- จัดวิชาเลือกเสรีในภาคเรียนที่ 3 เป็นต้นไป
- จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2ชม./สัปดาห์ทุกภาคเรียน
- จัดวิชาในภาคฤดูร้อนให้พอดีกับเวลาเรียน (เทียบเคียงกันได้กับภาคเรียนปกติ ประมาณ 12นก.)
- ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้อง
แผนการเรียนหลักสูตรปวช
-เวลาเรียนไม่เกิน 35ชม.ต่อสัปดาห์ รวมกิจกรรมฯ 2ชม.ต่อสัปดาห์
-ภาคปกติไม่เกิน 22หน่วยกิตต่อภาคเรียน
-ภาคปกติไม่เต็มเวลา/ภาคฤดูร้อนไม่เกิน 12 หน่วยกิต ต่อภาคเรียน
-อัตราส่วนการเรียนรู้หมวดทักษะวิชาชีพ ท.:ป. ประมาณ 20:80
รหัสวิชา กำหนดตามรหัสหลักสูตร ชื่อวิชา มีรายวิชาที่ต้องเรียนก่อนหรือไม่

XXXX-XXXX 1234-5678 1ระดับหลักสูตร(2=ปวช.)2ประเภทวิชา/วิชาเรียนร่วม 3-4 สาขาวิชา/วิชาเรียนร่วม 5-6 สาขางาน/กลุ่มวิชา7-8ลาดับที่วิชา
การจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556

การสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
1. ได้รายวิชาและจำนวนหน่วยกิตสะสมในหมวดวิชาทักษะชีวิต หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ และหมวดวิชาเลือกเสรี ครบถ้วนตามที่กาหนดไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา และตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด
2.ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ากว่า 2.00
3.ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
4.ได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมเสริมหลักสูตรและ “ผ่าน” ทุกภาคเรียน ตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด
- การประเมินสาขาวิชาชีพ จะผ่านหรือไม่ผ่านไม่เป็นไร ขอให้เข้าสอบ
แผนการจัดการเรียนรู้เป็นหน้าที่ของครู ตอนนี้กศน.ได้ทำรหัสไว้แล้ว ไม่ต้องคิดใหม่ ใช้เลข 8 หลักคั่นด้วย  4 ตัวหลัก
- ระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการ มีชื่อหมวดเปลี่ยนแปลงไปบ้าง การประเมินผล คำที่ใช้ในส่วนที่ 5 ส่วนที่ 2 การประเมินเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน
- การประเมินผลการเทียบโอนผลการเรียน การจัดทวิศึกษา เอาโครงสร้างมาเทียบ วิชาส่วนกศน.วิชาบังคับ 44 หน่วยกิต ทักษะชีวิต 22 หน่วยกิต อังกฤษ 6 หน่วตกิต อาชีวจะสอนอังกฤษให้ในวิชาเลือก แต่ตอนหลังกศน.เพิ่มการอ่านเขียนอังกฤษ ขึ้น 2 หน่วยกิต เพื่อให้ครบ 22 หน่วยกิต สำหรับวิชาเลือกให้เอาทักษะวิชาชีพเข้าไปโอนผลการเรียน หลักสูตร กศน.เรียน 78 หน่วยกิต
- ในการเทียบโอนผลการเรียนจากเกรด  มาเป็นเกรด ตอนนี้มีการวิเคราะห์ให้แล้ว ครูต้องพิจารณาว่าเด็กได้เกรดอะไร ต้องมีเนื้อหาตรงกันร้อยละ 60 จำนวนหน่วยกิตของกศน.และอาชีวจะไม่เหมือนกับกศน.
ในกรณีที่ได้ต่ำกว่า 2 เทียบโอนได้  แต่จะได้เกรดน้อย ถึงว่าจะประเมินผลใหม่ผลก็จะไม่ต่ำกว่าเดิมต้องดูระเบียบด้วย ถ้าต่ำกว่าเท่าไรเป็น 0 จนถึงเกรด 4
รูปแบบของการเทียบโอน
การให้ค่าหน่วยกิตของกศน.และอาชีวะไม่เหมือนกัน
ปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่รายวิชาบางรายวิชา ต้องเรียนเพิ่ม ซึ่งยังเป็นขั้นต่ำของอาชีว คือ 103 อาชีวะ กศน. 117
ข้อสรุป
      โครงสร้างหลักสูตร ผลการเรียนรายวิชา ต้องนำมาเทียบโอน ครูต้องศึกษาและมีความพร้อมในหลักสูตรอะไร มีสาขาอะไรที่เปิดอยู่แล้ว เมื่อจบแล้วจะไปทำงานอะไรได้บ้าง
คำถาม
     สถานศึกษาสามารถจัดวิชาบังคับในปีแรก ได้หรือไม่ จะทำให้เงินงบประมาณมีปัญหา โดยหลักการเรียนคู่กัน แบ่งกันในแต่ละภาคเรียน 2 หลักสูตรคู่กันไป สำหรับการเรียน เรียนกศน. 9 สัปดาห์ และอีกครึ่งเทอมไปเรียนปวช.ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาได้ตกลงกัน
     อาชีวะ มีการเรียกเก็บการจัดการศึกษา ปวช.เป็นการจัดการศึกษาภาคบังคับ ไม่เก็บค่าเล่าเรียน ถ้าเป็นนอกเวลาและภาคฤดูร้อนต้องมีการเก็บ การเก็บเงินภาคปฏิบัติขึ้นอยู่กับสาขาวิชา อาชีวะมีเงินอุดหนุน เช่น ค่าสื่อ ชุดปฏิบัติ
     ถ้าจบ ม3 ต้องเรียนแบบม.ปลายในระบบ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) เรียนกศน. ก็มาสมัครที่ กศน.ประเทศ  สัปดาห์หน้า ดูการทบทวนหลักสูตร กศน. 51 แนวทางการเรียนร่วมทวิศึกษา ขั้นตอนการปฏิบัติ
ต่อจากนั้น ครูกศน.ตำบลนิคม ทุ่งฝาย บ้านเป้า
ผอ.อยากให้ทำบันทึก ขอรายงานผลการปฏิบัติงานเหมือนตัวขออนุญาต
บ่าย การนำเสนอของ ครูกศน.ตำบล บ่อแฮ้ว บ้านเอื้อม บ้านค่า บุณนาคพัฒนา ห้องสมุดจังหวัด ลำปาง ต้นธงชัย เสด็จ ชมพู พิชัย บ้านแลง
     โครงการบรรณสัญจรให้ทำในเดือน เม.ย.- พ,ค 59
     ให้ครูทำสรุปรอบ 6 เดือนให้เสร็จ และทำเบสแพกทิสของตำบล 1 อย่าง เลือกมาเล่า นอกนั้นตามรายงานกิจกรรม  บันทึกหลังสอน และวิจัยชั้นเรียนบันทึกในระบบ bbl สเต็มศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น